? Swimming Home มีโฟมแล้วน๊าาา​ ?

 สำหรับผู้ที่หัดว่ายน้ำ โฟมเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในการฝึกซ้อม ไม่ว่าจะเป็นท่าฟรีสไตล์ กรรเชียง กบ หรือผีเสื้อ

 โฟมของเรามีคุณภาพที่ดี เนื้อโฟมละเอียด มีน้ำหนักที่กำลังดี แข็งแรงทนทาน และใช้สีที่เป็นเอกลักษณ์ของทาง “Swimming Home” ที่เราสั่งผลิตอย่างเป็นพิเศษ ซึ่งสวยและไม่ซ้ำใคร แถมยังเจาะรูสำหรับจับในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถจับได้อย่างถนัดมือ และมั่นคง ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่

 มีสองแบบให้เลือก ทั้งลายมาสคอต และโลโก้ของ ​Swimming Home​ สำหรับใครที่สนใจสั่งซื้อทางเรามีโปรโมชั่นราคาพิเศษในช่วงแนะนำสินค้า

?จากราคาปกติ 450/400 ลดเหลือ 250/200 บาท?

? สำหรับ 10 ท่านแรก รีบกันหน่อยน๊าาา​

อ่านเพิ่มเติม

10 อันตรายจากแสงแดด

10 อันตรายจากแสงแดด

1. อันตรายจากแสงแดดทำให้ผิวไหม้

หากช่วงนี้ใครอยากได้ผิวสีแทนแล้วไปตากแดดอาจต้องผิดหวัง เพราะนอกจากผิวจะไม่เป็นสีแทนดังคิดแล้ว อาจได้ผิวไหม้กลับมาอีกด้วย โดยเฉพาะช่วงที่รังสียูวีมีความเข้มข้นสูงมากเป็นพิเศษ ก็จะสามารถแผดเผาเซลล์ผิวหนังให้เสียหายได้ง่ายๆ และผิวที่โดนแดดก็จะได้รับรังสียูวีเกินขนาด จนทำให้เส้นเลือดไหลเวียนมาที่เซลล์ผิวที่ถูกรังสียูวีทำลาย จึงเป็นสาเหตุให้ผิวมีสีแดงจัด และเกิดการไหม้เกรียมแดดในเวลาต่อมา อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง

2. อันตรายจากแสงแดดทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง

เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดดจัดนานๆรังสี UV จะเข้าทำลาย DNA (genotoxic) จนอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ เพราะในแสงแดดจะมีสารกระตุ้นมะเร็งอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อได้รับแสงแดดจัด ๆ โดยตรงเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมากขึ้น

3. อันตรายจากแสงแดดทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย

เป็นที่รู้กันว่า เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่ช่วยป้องกันและต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่อาจทำอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า รังสียูวีที่ทำให้ผิวเกิดอาการไหม้แดดอาจจะส่งผลกระทบถึงการกระจายตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ และอาจส่งผลกระทบถึงระบบภูมิคุ้มกันได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากถูกแดดเผา ซ้ำร้ายหากโดนรังสียูวีทำร้ายซ้ำบ่อยๆ ระบบภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ

4. อันตรายจากแสงแดดทำให้ผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ง่าย

เนื่องจากรังสียูวีอาจเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้นจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่ายดายขึ้น โดยเฉพาะจากปรสิต นอกจากนี้เมื่อเหงื่อออกมากเปียกเสื้อผ้าที่สวมใส่ เกิดความอับชื้นตามซอกข้อพับผิวหนังต่างๆ ยิ่งอุณหภูมิสูงยิ่งทำให้เกิดผดผื่นง่ายขึ้น หรือเด็กๆ มักชอบออกไปวิ่งเล่นกลางแจ้ง ผิวหนังสัมผัสกับสิ่งสกปรก ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบได้อีก

5. อันตรายจากแสงแดดทำให้เป็น โรคผิวหนัง และโรคระบบอื่นๆ กำเริบ

แสงแดดอาจทำให้โรคผิวหนังและโรคอื่นๆ หลายโรคกำเริบขึ้นได้ เช่น โรคลมพิษจากแสงแดด โรคเอสแอลอี และโรคติดเชื้อเริมเป็นต้น

6. อันตรายจากแสงแดดทำให้ผิวพรรณเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร

เนื่องจากรังสียูวีสามารถเข้าไปทำลายคอลลาเจนในเซลล์ผิวและเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้เกิดปัญหาริ้วรอย จุดด่างดำ ความหมองคล้ำ หรือริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัย และไม่เฉพาะแต่ที่ผิวหน้าเท่านั้น ส่วนผิวที่โผล่พ้นร่มผ้าอย่างผิวบริเวณคอ แขน หรือขา ก็อาจจะได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน ทางที่ดีเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อนจึงควรทาครีมกันแดดปกป้องผิวก่อนจะออกแดดทุกครั้ง

7. อันตรายจากแสงแดดทำให้กระจกตาอักเสบ

หากปล่อยให้รังสียูวีทำร้ายดวงตานานๆ อาจทำให้เป็นกระจกตาอักเสบได้ โดยจะมีอาการแสบตา น้ำตาไหล แพ้แสง และตาแดง จากนั้นจะลามไปเป็นต้อเนื้อ ต้อลม หรือต้อกระจกได้

8. อันตรายจากแสงแดดทำให้เป็นโรคต้อกระจก

โรคต้อกระจกเกิดขึ้นได้ง่ายจากรังสียูวี และยังทำให้จอตาเสื่อมสภาพลงอีกด้วย ซึ่งทั้ง 2 กรณีนี้มีการสันนิษฐานว่า ยูวีอาจไปกระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน และอาจไปทำให้เกิดปฏิกิริยากับไขมันที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ สำหรับอาการของโรคต้อกระจกก็คือ เลนส์ที่แก้วตาจะเริ่มขุ่นมัวไปทีละน้อยๆ ซึ่งหากเป็นมากๆ ความขุ่นมัวก็จะลุกลามเข้าไปถึงส่วนกลางของกระจกตา จนทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนปกติ

9. อันตรายจากแสงแดดทำให้เป็นโรคต้อเนื้อ

โรคต้อเนื้อคือโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเยื่อบุตา จนกลายเป็นเนื้อสีแดงรูปสามเหลี่ยมยื่นเข้าไปในตาดำ สาเหตุเกิดจากเยื่อบุตาส่วนนั้นถูกแสงยูวีจากดวงอาทิตย์มากเกินไป ซึ่งหากเป็นต้อเนื้อแล้วจะรู้สึกเคืองตา คันตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล โดยอาการจะเป็นมากขึ้นหากไปอยู่กลางแจ้ง หรือโดนแดดโดนลม ผู้ที่ยังมีอาการไม่มากอาจไม่ส่งผลอะไรมากนัก แต่หากต้อเนื้อลุกลามไปบดบังตรงกลางของกระจกตา ก็จะมีผลต่อการมองเห็น

10. อันตรายจากแสงแดดทำให้เป็นกระแดดและฝ้า

กระแดดและฝ้าสามารถเกิดได้โดยมีสาเหตุจากการที่รังสียูวีเอและแสงช่วงที่ตามองเห็น (Visible Light) เข้าไปกระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสีเมลาโนไซต์ (Melanocyte) จนทำให้ผลิตเซลล์เม็ดสีเมลานิน (Melanin) ซึ่งอยู่ในผิวหนังชั้นนอกส่วนล่าง (Epidermis) ออกมาจึงทำให้มีการทำงานมากผิดปกติ ยิ่งมีเมลานินมาก ผิวก็จะยิ่งมีสีเข้ม สามารถมองเห็นผิวหนังมีสีไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นรอยจุดๆ เล็กที่เรียกว่ากระ หรือเป็นปื้นๆ ที่เรียกว่าฝ้า ซึ่งสาเหตุก็เพราะแสงแดดทำร้ายด้วยกันทั้งนั้น

เนื่องจากประเทศไทยเรามีแนวโน้มจะร้อนและแสงแดดแรงกล้ามากขึ้นทุกที ทางที่ดีอย่าออกไปกลางแจ้งช่วงที่แดดแรงๆ จะดีที่สุด แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรทาครีมกันแดดอย่างน้อยสัก 15 นาทีก่อนออกแดด กางร่ม สวมเสื้อผ้าแขนขายาว สวมหมวก และสวมแว่นกันแดดทุกครั้ง เพื่อช่วยให้ร่างกายไม่ต้องโดนแสงแดดปริมาณมากมาทำร้าย

แหล่งที่มาของข้อมูล

https://www.honestdocs.co/summer-sunshine-more-dangerous-than-we-think
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์, หมอเตือนตากแดดจ้า เสี่ยงมะเร็งผิวหนัง (http://www.dms.moph.go.th/dmsw…)

อ่านเพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

อาหารถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิต การเลือกบริโภคอาหารสามารถส่งผลถึงสุขภาพระยะยาวได้โดยตรง ด้วยเหตุนี้ การเลือกอาหารให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการมีสุขภาพที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ที่มีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาด้านโภชนาการมากกว่าวัยผู้ใหญ่ทั่วไป ดังนั้นการที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของอาหารและโภชนาการ จะทำให้การดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพขึ้น และทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้เช่นเดียวกัน

พื้นฐานโภชนาการในผู้สูงอายุ

การที่มนุษย์บริโภคอาหาร เพื่อให้ได้รับพลังงานและสารอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สารอาหารหลักที่ร่างกายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่

  • สารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
  • สารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ

นอกจากนี้ ร่างกายยังต้องได้รับใยอาหารและน้ำในปริมาณที่เพียงพอด้วย จึงจะทำให้การทำงานของร่างกายเป็นไปได้ตามปกติ โดยที่สารอาหารเหล่านี้สามารถพบได้ในอาหารทั่วไป เราจึงแบ่งอาหารออกเป็น 6 กลุ่ม ตามปริมาณสารอาหารหลักที่พบในอาหารแต่ละกลุ่ม คือ ข้าวแป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ไขมัน/น้ำมัน และนม/ผลิตภัณฑ์จากนม

แน่นอนว่าสำหรับผู้สูงอายุแต่ละคน ความต้องการสารอาหารและพลังงานก็จะแตกต่างกันไป ตามอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน แต่โดยทั่วไป ตามคำแนะนำธงโภชนาการ โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำปริมาณอาหารที่ผู้สูงอายุควรได้รับดังนี้

ในทางปฏิบัติ คำแนะนำทั่วไปสำหรับการจัดอาหารให้ผู้สูงอายุคือ ใน 1 มื้อ ให้มีผักผลไม้รวมแล้วได้ปริมาณครึ่งหนึ่งของจานที่บริโภคต่อวัน ข้าวแป้ง ¼ จานที่บริโภค และเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง รวมกันได้ปริมาณ ¼ จานที่บริโภค นอกจากนั้นให้ดื่มนมวันละ 1 – 2 แก้ว ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีเพื่อรักษาระดับน้ำหนักตัวให้คงที่ และลดหวานมันเค็ม งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีได้

การจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

นอกจากคำนึงถึงปัจจัยเรื่องโภชนาการ ในการจัดอาหารให้ผู้สูงอายุ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยส่วนบุคคลด้วย เช่น ความอร่อย ความชอบ ความคุ้นเคยกับอาหาร การจัดอาหารที่ได้คุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม และน่ารับประทาน รสชาติดี จึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและลองผิดลองถูกจนทำให้ได้แบบแผนอาหารที่เป็นแบบแผนเฉพาะบุคคล ไม่มีแบบแผนตายตัวที่ให้ผู้สูงอายุทุกคนปฏิบัติตาม

ข้อควรคำนึงถึงอีกเรื่องหนึ่งเวลาจัดอาหารให้ผู้สูงอายุคือ หากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง ก็อาจจำเป็นต้องจัดอาหารพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับโรคนั้น ๆ การจัดอาหารเฉพาะโรค ควรปรึกษานักโภชนาการ/นักกำหนดอาหารในโรงพยาบาลด้วยเสมอ เพราะเงื่อนไขและสภาวะของโรคต่าง ๆ ของแต่ละคนย่อมต่างกัน จึงส่งผลให้การจัดอาหารแตกต่างกันด้วย

โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะอาหารสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นดังนี้

  • โภชนาการ อาหารให้พลังงานพอเหมาะ แต่มีสารอาหารเยอะ
  • ลักษณะอาหาร เคี้ยวกลืนได้ง่าย ย่อยได้ง่าย อ่อนนุ่ม
  • การนำเสนอ น่ารับประทาน สีสันสวยงาม อุณหภูมิเหมาะสม กลิ่นหอม
  • รสชาติ ไม่จัดมาก อาจใช้เครื่องเทศ สมุนไพร ช่วยเพิ่มกลิ่นและรส
  • สุขอนามัย อาหารสะอาด การเตรียมอาหารถูกสุขลักษณะ มีอนามัยที่ดี
  • โรคประจำตัว สอดคล้องกับแผนการรักษาของแพทย์

โดยสามารถจำแนกการเลือกวัตถุดิบเพื่อนำมาประกอบอาหารได้ดังนี้

  • ข้าวแป้ง: เลือกข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดสีให้ได้อย่างน้อย 50% ของปริมาณข้าวแป้งทั้งวัน
  • ผลไม้: เลือกผลไม้ให้หลากหลาย หวานมาก – หวานน้อย สลับกันไป หากเป็นผลไม้ที่มีเนื้อสัมผัสที่แข็ง อาจหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือใช้วิธีปั่นเป็นน้ำผลไม้ปั่น (ในปริมาณที่เหมาะสม)
  • ผัก: เลือกผักหลากหลายสี ผักสุกอาจกินได้ง่ายกว่าผักดิบ หากเป็นผักดิบต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาด และอาจหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้เคี้ยวได้ง่ายขึ้น
  • เนื้อสัตว์: เลือกเนื้อสัตว์ที่มีความอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย เช่น ปลา หรืออาจสลับกับเต้าหู้ ไข่ หากเป็นเนื้อสัตว์ที่มีความเหนียวมากขึ้น เช่น ไก่ หรือ หมู อาจหั่นเนื้อสัตว์เป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือใช้วิธีบด/สับ
  • ถั่วเมล็ดแห้ง: เลือกถั่วหลากหลายสี ทำเป็นของหวาน (ใส่น้ำตาลเล็กน้อย) หรือเป็นของคาวก็ได้ ต้มถั่วโดยใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ ให้ถั่วมีลักษณะที่อ่อนนิ่ม เคี้ยวกลืนง่าย
  • นม: เลือกนมพร่องมันเนย/นมขาดมันเนย หากมีอาการท้องเสีย อาจรับประทานเป็นโยเกิร์ต หรือนมปราศจากแลกโตส หรือนมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ ที่มีการเสริมแคลเซียมแทน
  • น้ำดื่มเลือกน้ำเปล่า หรืออาจทำน้ำสมุนไพรแบบหวานน้อยให้ดื่มเพื่อเพิ่มรสชาติ
  • น้ำมัน น้ำตาล เกลือ: เลือกวิธีปรุงอาหารที่หลากหลาย จะทำให้สามารถลดการใช้น้ำมันได้ เลือกเมนูอาหารที่มีหลากหลายรสชาติ จะทำให้การใช้น้ำตาล/เกลือ มีปริมาณที่ลดลงโดยอัตโนมัติ

การขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ

แต่ในชีวิตจริง ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุคือ ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ หรือปัญหาการขาดสารอาหาร เพราะผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง ร่วมกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ฟัน กระเพาะอาหาร ลำไส้ ที่มีประสิทธิภาพลดลงตามธรรมชาติ จึงทำให้ได้รับอาหารไม่เพียงพอ เกิดเป็นปัญหาการขาดสารอาหารตามมาได้ จึงจำเป็นต้องมีการประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุเป็นระยะ เพื่อให้สามารถตรวจหาภาวะขาดสารอาหารได้ตั้งแต่ระยะเนิ่น ๆ เพื่อทำการดูแลรักษาให้เหมาะสมต่อไป

หน้าที่หลักในการประเมินภาวะโภชนาการจะเป็นของนักโภชนาการ/นักกำหนดอาหารในโรงพยาบาล แต่ผู้ดูแลก็สามารถช่วยสังเกตอาการอย่างคร่าว ๆ เพื่อดูความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ โดยใช้แบบคัดกรองภาวะโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วยคำถาม 6 ข้อ ดังนี้

  1. ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมารับประทานอาหารได้น้อยลง เนื่องจากความอยากอาหารลดลง มีปัญหาการย่อย การเคี้ยว หรือปัญหาการกลืนหรือไม่?
    • รับประทานอาหารน้อยลงอย่างมาก ให้ 0 คะแนน
    • รับประทานอาหารน้อยลงปานกลาง ให้ 1 คะแนน
    • การรับประทานอาหารไม่เปลี่ยนแปลง ให้ 2 คะแนน
  2. ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา น้ำหนักลดลงหรือไม่?
    • น้ำหนักลดลงมากกว่า 3 กิโลกรัม ให้ 0 คะแนน
    • ไม่ทราบ ให้ 1 คะแนน
    • น้ำหนักลดลงระหว่าง 1 – 3 กิโลกรัม ให้ 2 คะแนน
    • น้ำหนักไม่ลดลง ให้ 3 คะแนน
  3. สามารถเคลื่อนไหวได้เองหรือไม่?
    • นอนบนเตียง หรือต้องอาศัยรถเข็นตลอดเวลา ให้ 0 คะแนน
    • ลุกจากเตียงหรือรถเข็นได้บ้าง แต่ไม่สามารถไปข้างนอกได้เอง ให้ 1 คะแนน
    • เดินและเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ให้ 2 คะแนน
  4. ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีความเครียดรุนแรง หรือป่วยเฉียบพลันหรือไม่?
    • มี ให้ 0 คะแนน
    • ไม่มี ให้ 1 คะแนน
  5. มีปัญหาทางจิตประสาทหรือไม่?
    • ความจำเสื่อม หรือ ซึมเศร้าอย่างรุนแรง ให้ 0 คะแนน
    • ความจำเสื่อมเล็กน้อย ให้ 1 คะแนน
    • ไม่มีปัญหาทางประสาท ให้ 2 คะแนน
  6. ดัชนีมวลกาย (น้ำหนัก (กก.) หารด้วย ส่วนสูง (ม.) สองครั้ง) เป็นเท่าใด?
    • ตัวอย่าง สูง 160 ซม. น้ำหนัก 70 กก. = 70 หารด้วย6 สองครั้ง ได้ค่าดัชนีมวลกาย = 27.3 กก./ม.2
      • ถ้าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 19 ให้ 0 คะแนน
      • ถ้าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 19 ถึง 21 ให้ 1 คะแนน
      • ถ้าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 21 ถึง 23 ให้ 2 คะแนน
      • ถ้าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 ให้ 3 คะแนน

** ในกรณีชั่งน้ำหนักตัวไม่ได้ ให้ใช้สายวัด วัดเส้นรอบวงตรงกลางน่อง

  • ถ้าเส้นรอบวงน้อยกว่า 31 ซม. ให้ 0 คะแนน
  • ถ้าเส้นรอบวงมากกว่าหรือเท่ากับ 31 ซม. ให้ 3 คะแนน

จากนั้นจึงรวมคะแนนทั้งหมด

  • ถ้าได้ 12 – 14 คะแนน แสดงว่ามีภาวะโภชนาการปกติ
  • ถ้าได้ 8 – 11 คะแนน แสดงว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร
  • ถ้าได้ 0 – 7 คะแนน แสดงว่ามีความเสี่ยงอย่างรุนแรงต่อภาวะขาดสารอาหาร สมควรแจ้งทีมงานผู้ดูแล Health at Home เพื่อพิจารณาการดูแลอื่น ๆ ต่อไป

ปัญหาการกลืนในผู้สูงอายุ

ปัญหาอีกหนึ่งข้อที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ คือปัญหาเรื่องการกลืน และการสำลักอาหาร สาเหตุที่สำคัญของปัญหาการกลืนและสำลัก นอกจากความเสื่อมตามธรรมชาติของกล้ามเนื้อช่องปากและลำคอแล้ว ก็ยังอาจเกิดจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด และโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการกลืนได้เช่นเดียวกัน อาการที่สำคัญของปัญหากลืนลำบาก คือ อาจพบปัญหากลืนช้า กลืนแล้วติด กลืนแล้วไอ สำลัก มีอาหารติดกระพุ้งแก้ม น้ำลายไหล ต้องแหงนหน้ากลืนอาหาร ไปจนถึงกลืนแล้วเจ็บ หรือรู้สึกแสบร้อนกลางอก ขึ้นอยู่กับระยะที่เกิดปัญหา ว่าเป็นระยะช่องปาก ระยะคอหอย หรือระยะหลอดอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขต่อไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหากลืนลำบาก ด้วยการปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแล และ/หรือนักกิจกรรมบำบัดที่ให้การดูแลผู้สูงอายุ ว่าผู้สูงอายุมีปัญหาการกลืนลำบากระยะใด และสมควรปรับอาหารให้เหมาะกับสภาวะการกลืนลำบากอย่างไร และนอกจากนี้ยังช่วยได้โดยการปรับท่าทางการรับประทานอาหารให้เหมาะสม ให้ผู้สูงอายุนั่งรับประทานอาหาร (ไม่ป้อนอาหารหากผู้สูงอายุเอนตัวนอนในแนวราบ) ระมัดระวังอาการไอและสำลักที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากและฟันของผู้สูงอายุ ก็จะทำให้ปัญหาการกลืนลำบากลดลงได้

อาหารทางการแพทย์ และอาหารทางสายให้อาหาร

ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เพียงพอ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแล อาจพิจารณาให้ผู้สูงอายุดื่มอาหารทางการแพทย์เสริมได้ จุดประสงค์หลักของการใช้อาหารทางการแพทย์ คือใช้เพื่อเสริมมื้ออาหารแก่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอจากอาหารทั่วไป โดยที่จะทำให้ได้รับสารอาหารหลัก (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน) และสารอาหารรอง (วิตามิน แร่ธาตุ) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในบางสูตรอาจมีการดัดแปลงสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีสภาวะของโรคที่แตกต่างกัน ก่อนที่จะเริ่มใช้อาหารทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล รวมถึงนักกำหนดอาหาร เพื่อประเมินความต้องการพลังงานและสารอาหาร เพื่อกำหนดปริมาณการใช้อาหารทางการแพทย์ให้เหมาะสม ตัวอย่างของอาหารทางการแพทย์ สามารถดูได้จากรูปด้านล่าง

แต่หากผู้สูงอายุไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เพียงพอ แม้จะเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์แล้ว แพทย์อาจพิจารณาให้อาหารผ่านทางสายให้อาหารแทน โดยการให้อาหารทางสายให้อาหาร จะสามารถให้เป็นทางหลัก หรือจะให้เสริมจากมื้ออาหารที่ผู้สูงอายุรับประทานทางปากก็ได้ โดยรูปแบบการให้อาหารทางสายให้อาหารจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบหลัก ๆ คือการให้อาหารผ่านสายทางจมูก และการให้อาหารผ่านสายทางช่องเปิดบริเวณหน้าท้อง โดยอาหารที่จะให้ผ่านทางสายให้อาหาร จะเป็นอาหารทางการแพทย์ (ดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น) หรือจะเป็นอาหารปั่นผสมก็ได้ โดยที่ปริมาณและสูตรอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารทางการแพทย์ หรืออาหารปั่นผสม จำเป็นต้องได้รับการคำนวณจากนักโภชนาการ/นักกำหนดอาหาร ในโรงพยาบาลที่ผู้สูงอายุรับการรักษาอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอ

บทบาทของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหาร นอกจากการดูแลการให้อาหารให้เรียบร้อยแล้ว ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องเตรียมอาหารปั่นผสมเองด้วย ขั้นตอนหลัก ๆ ของการเตรียมอาหารปั่นผสมคือ

  • ต้มวัตถุดิบทุกชนิดให้สุกจนเปื่อย ยกเว้นไข่ไก่ให้ต้มจนสุกดีแล้วยกออก
  • นำอาหารที่ต้มสุกแล้วใส่โถปั่น เติมน้ำต้มสุกหรือนมถั่วเหลืองให้ได้ปริมาณที่กำหนด
  • ปั่นให้ละเอียด 2 – 3 นาทีจนมีความละเอียดมาก จากนั้นนำมากรองผ่านกระชอน
  • กรอกใส่ถุงภาชนะเก็บอาหาร แช่ตู้เย็นช่องธรรมดา สามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมง
  • เวลาจะนำอาหารจากตู้เย็นมาให้คนไข้ ให้อุ่นด้วยการวางถุงเก็บอาหารลงในชามที่ใส่น้ำอุ่นจนหายเย็น จากนั้นจึงนำให้คนไข้ อาหาร 1 ถุงไม่ควรใช้เวลาให้เกิน 4 ชั่วโมง

สิ่งที่ผู้ดูแลต้องระมัดระวังทุกครั้ง ไม่ว่าจะเตรียมอาหารปั่นผสมหรืออาหารทางการแพทย์ คือเรื่องของความสะอาด เพราะอาหารจะถูกลำเลียงไปยังกระเพาะอาหารหรือลำไส้ของผู้สูงอายุโดยตรงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่าอาหารสะอาด ปลอดภัย โดยผู้ดูแลจำเป็นต้องทำความสะอาดบริเวณพื้นที่เตรียมอาหารให้สะอาดทุกครั้งก่อนทำอาหาร ล้างอุปกรณ์ให้สะอาดและลวกอุปกรณ์ด้วยน้ำเดือดทุกครั้งก่อนทำอาหาร ล้างมือให้สะอาด และตัดเล็บให้สั้นทุกครั้งก่อนทำอาหาร เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้

สรุป

จากทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการดูแลด้านอาหารและโภชนาการ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญมากในการดูแลผู้สูงอายุ โดยที่ผู้ดูแลจะมีบทบาทที่สำคัญมากในการส่งเสริมโภชนาการที่ดี ตั้งแต่การเลือกอาหาร การเตรียมอาหาร การปรุงประกอบ ไปจนถึงการดูแลผู้สูงอายุให้บริโภคอาหารให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นอาหารธรรมดา หรืออาหารทางสายให้อาหาร ดังนั้นหากผู้ดูแลมีความเอาใจใส่ จัดการดูแลอาหารและโภชนาการ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมาด้วย ซึ่งก็จะเกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้สูงอายุ และผู้ดูแลเช่นเดียวกัน ?

แหล่งข้อมูล : https://healthathome.in.th

อ่านเพิ่มเติม

9 วิธียืดอายุชุดว่ายน้ำแสนรัก

1.เมื่อซื้อชุดว่ายน้ำมาใหม่ ควรแช่ด้วยน้ำเย็นจัดปริมาณ 1 ใน 4 ของอ่างที่ผสมกับน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นซักด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด จะช่วยให้เนื้อผ้าสีไม่ตกและสดนาน

2.บรรดาครีมกันแดดต่อให้แพงแค่ไหนก็ล้วนไม่เป็นผลดีกับเนื้อผ้าประเภท Lycra หรือ Spandex เวลาทาจึงควรระมัดระวัง อย่าเผลกระหน่ำจนไปถูกชุดว่ายน้ำโดยตรงเป็นอันขาด กับควรหลีกเลี่ยงซันแทนโลชั่นที่เป็นน้ำมัน เพราะมันมีคุณสมบัติเป็นตัวทำลายความยืดหยุ่นของเนื้อผ้า ทั้งยังทำให้ชุดเป็นคราบได้อีกด้วย

3.ก่อนลงว่ายน้ำในสระหรือทะเล ให้ใส่ชุดว่ายน้ำอาบน้ำฝักบัวหรือแช่ชุดลงในน้ำเปล่าเสียก่อน เพื่อให้ชุดมีความสามารถในการดูดซึมคลอรีนหรือน้ำเกลือได้น้อยลง

4.รู้จักวิธีสวมใส่อย่างถูกต้อง โดยคลี่ชุดว่ายน้ำออก พับลงมาถึงกึ่งกลางเอว สอดขาเข้าไป แล้วค่อยๆ ดึงชุดขึ้นมาจากสะโพก อย่าเผลอใช้เล็บจิกบนเนื้อผ้า ใช้มือประคองเนื้อผ้าให้กระชับกับทรวงอก และปรับสายที่บ่าให้พอดี

5.เมื่อขึ้นจากน้ำ ควรซักชุดด้วยน้ำเปล่าก่อน จากนั้นจึงซักด้วย Swim Suit Cleaner น้ำยาซักเฉพาะ หรือง่ายๆ ก็ซักด้วยสบู่อาบน้ำเพื่อขจัดคราบทราย เกลือ คลอรีน และครีมกันแดด ที่จะทำให้เนื้อผ้าสีจาง ห้ามใช้ผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าทุกชนิด เพราะจะทำให้ยางยืดเสื่อมสภาพ เวลาซักให้บีบชุดว่ายน้ำเบาๆ อย่าบิดหรือดึงยืดเด็ดขาด

6.ห้ามซักชุดว่ายน้ำในเครื่องซักผ้าเด็ดขาด เพราะเครื่องซักผ้าจะทำลายเนื้อผ้าไลคราหรือสแปนเด็กซ์ รวมทั้งฟองน้ำเสริมหน้าอกที่เย็บติดมากับชุด ทำให้ชุดยืดผิดรูปทรงได้

7.หลังการซัก ให้นำไปผึ่งในที่ร่ม โดยวางบนผ้าขนหนูที่วางบนพื้นราบ อย่าให้ชุดว่ายน้ำสัมผัสกับความร้อนทุกชนิด จริงอยู่ว่าแสงยูวีช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ แต่ความร้อนก็จะทำลายความยืดหยุ่นของเนื้อผ้า ทำให้ชุดยืดย้วยเสียทรง และยังจะทำให้สีสวยๆ ของชุดหมองเร็วอีกด้วย

8.ไม่ควรทิ้งชุดว่ายน้ำที่เปียกชื้นไว้ในกระเป๋าค้างคืน เพราะความชื้นจากตัวฟองน้ำเสริมทรง อาจทำให้เกิดเชื้อราในจุดที่มองไม่เห็นได้

9.วิธีเก็บชุดว่ายน้ำที่ดีที่สุดคือใส่ถุงพลาสติคแช่ตู้เย็น จะช่วยยืดอายุการใช้งานของชุดออกไปได้

แหล่งที่มา : https://praew.com/fashion/34633.html

อ่านเพิ่มเติม

“โปรโมชั่นปิดเทอมเล็ก”

…มาแล้วครับบ “โปรโมชั่นปิดเทอมเล็ก”

เพียงสมัครคอร์ส ตั้งแต่วันนี้ – 5 ตุลาคม 2562

?? รับส่วนลดไปเลย 500​ ทุกคอร์สเรียน!!??

กติกาและเงื่อนไขพิเศษ
? นักเรียนต้องเริ่มเรียน ไม่เกินวันที่ 15 ตุลาคม​ 2562
? อายุคอร์ส​​ 60​ วัน
? กดไลค์ และแชร์รูป Promotion ” ปิดเทอมเล็ก” เป็น สาธารณะ​
พร้อมแคปหน้าจอหลักฐานส่งให้ทางแอดมิน เพื่อยืนยันสิทธิ์
? หรือ ติดดาวให้คำแนะนำ ติชม
ที่เพจ ? https://www.facebook.com/pg/SwimmingHome/reviews/
พร้อมแคปหน้าจอหลักฐานส่งให้ทางแอดมิน เพื่อยืนยันสิทธิ์
?ไม่สามารถใช้ร่วมกับ Voucher ของทางโรงเรียนได้

?รีบมาสมัครเรียนกันนะครับ?,

?กดติดดาว ⭐️ เพจด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดโพสต์ของเราครั

อ่านเพิ่มเติม